เมนู

บทว่า รมมาเนสุ โน รเม ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายยินดีอยู่
ด้วยควานยินดีในกามคุณ (และ) ด้วยความยินดีในกิเลส ตนเองไม่พึงยินดี
คือไม่พึงพอใจอย่างนั้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลาย ยินดีอยู่
ด้วยความยินดีในฌานเป็นต้น ที่ปราศจากอามิส แม้ตนเองก็พึงยินดีอย่างนั้น.
แต่ไม่พึงยินดี คือไม่พึงอภิรมย์ โดยประการอื่นจากความยินดีในฌานเป็นต้นต้น
นั้น แม้ในบางครั้งบางคราว.
จบอรรถกถาปิยัญชหเถรคาถา

7. หัตถาโรหปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระหัตถาโรหบุตรเถระ


[214] ได้ยินว่า พระหัตถาโรหบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่าง
นี้ว่า
แต่ก่อน จิตนี้เคยจาริกไป ในอารมณ์ต่างๆ ตาม
ความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย
วันนี้ เราข่มจิตนั้น โดยอุบายอันชอบ เหมือนนาย-
ควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้างตกมันไว้ได้ด้วยขอสับ
ฉะนั้น.

อรรถกถาหัตถาโรหปุตตเถรคาถา


คาถาของพระหัตถาโรหบุตรเถระ เริ่มต้นว่า อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ
จาริกํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนั้นเป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น เกิด
ในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดา แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จออกจากพระวิหาร กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ถวายบังคมด้วย
เบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลแห่งนายควาญช้าง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถึง
ความเป็นผู้รู้แล้ว ถึงความสำเร็จในหัตถิศิลปศาสตร์ วันหนึ่ง เขาฝึกช้าง
ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ คิดว่า การฝึกช้างนี้ จะมีประโยชน์
อะไรแก่เรา การฝึกตนนั่นแหละประเสริฐกว่า ดังนี้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาจิตบวชแล้ว เรียนกรรมฐานที่เหมาะ
แก่จริต เจริญวิปัสสนา ข่มจิตที่วิ่งไปในภายนอกจากกรรมฐาน ได้ด้วยขอ
สับคือการพิจารณา เพราะได้อบรมมาเป็นเวลานาน ดุจนายหัตถาจารย์ฝึกช้าง
ตัวประเสริฐที่ตกมัน ดุร้ายได้ด้วยขอสับ ฉะนั้น ได้กล่าวคาถาว่า
แต่ก่อน จิตนี้ เคยท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความ
สบาย วันนี้ เราจักข่มจิตนั้น โดยอุบายอันชอบ เหมือน